วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของเลือด

เลือดประกอบด้วย



น้ำเลือด (plasma) เป็นส่วนที่เป็นของเหลวของเลือดทั้งหมด มีสีเหลืองอ่อน ค่อนข้างใส มีปริมาณ 55 % ของปริมาตรเลือด ประกอบด้วย



1. น้ำปริมาณ 90 % ของน้ำเลือดทั้งหมด        

- ทำละลายของอาหาร ก๊าซ ของเสียต่างๆในเลือด
- ช่วยลดความหนืดของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ง่าย

2. โปรตีนชนิดต่างๆ  ได้แก่ albumin  globulin  และ  fibrinogen
- ทำให้เกิดแรงดันออสโมซิสในน้ำเลือด รักษาปริมาตรของเลือด และรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย

- เป็นตัวพาสารต่างๆ และสร้าง antibody

- ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว

3.โปรตีนที่ช่วยควบคุมและป้องกัน ได้แก่ antibody    hormone   และ  enzyme        
- ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย
- ช่วยควบคุมการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ
- ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

4. สารอนินทรีย์ เช่น NaCl, Ca, K, Bicabonate, I        

- ถ้าเป็นของเสียจะถูกกำจัดออก ถ้าเป็นสารอาหารจะอยู่ในน้ำเลือด เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของเซลล์      

5. สารอินทรีย์ เช่น ยูเรีย กรดยูริก แอมโมเนีย กรดอะมิโน กลูโคส ไขมัน       - มีความสำคัญต่อความเป็นกรดเป็นด่างของร่างกาย ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ผนังเซลล์ การหดตัวของกล้ามเนื้อ การขนส่งก๊าซ          

6. ก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์        
- ใช้ในการหายใจ ส่วนใหญ่ถูกลำเลียงโดย haemoglobin ส่วนน้อยละลายในพลาสมา
- ของเสียจากการหายใจ ส่วนใหญ่ละลายในพลาสมา ส่วนน้อยละลายใน heamoglobin       



เม็ดเลือด

มีปริมาณ 45 % ของปริมาตรเลือดทั้งหมด ส่วนที่เป็นเม็ดเลือดประกอบด้วย

1. เม็ดเลือดแดง (erythrocyte หรือ red blood corpuscle)

2. เม็ดเลือดขาว (leucocyte หรือ white blood corpuscle)

3. เกล็ดเลือด (platelet หรือ thrombocyte)



เม็ดเลือดแดง



มีลักษณะกลมแบน ตรงกลางเว้าเข้าหากัน (biconcave) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 - 8 ไมครอน มีอายุประมาณ 100 - 120 วัน มีรงควัตถุสีแดงที่เกี่ยวกับการหายใจ (respiratory pigment) เรียกว่า ฮีโมโกลบิน (haemoglobin)



แหล่งสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง

- เมื่อเป็นทารก อยู่ในมดลูก เซลล์เม็ดเลือดแดงจะถูกสร้างมาจาก ถุงไข่แดง (yolk sac) ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง และไขกระดูก

- หลังอายุ 20 ปี แหล่งสร้าง คือ ไขกระดูก โดยเฉพาะ กระดูกท่อนยาวๆ เช่น กระดูกโคนขา และกระดูกโคนแขน

- วัยผู้ใหญ่ แหล่งสร้าง คือ ไขกระดูก โดยเฉพาะ กระดูกแผ่นบางๆ เช่น กระดูกอก กระดูกซี่โครง กระดูกไหปลาร้า และกระดูกกระโหลกบางส่วน

สารที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ ไขมัน และโปรตีน (เป็นเยื่อหุ้มเซลล์) Fe และ amino acid (ใช้สังเคราะห์ haemoglobin และ ฮอร์โมนจากไต (kidney) ชื่อ erythropoitin ส่งมากระตุ้นเพื่อสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง







แหล่งทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง          คือ เซลล์ชื่อแมคโครฟาจ (macrophage) ของตับ (liver) ม้าม (spleen) และไขกระดูก (bone marrow) ซึ่ง Fe และ globin จะถูกนำไปสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ใหม่ ส่วนสารสีในเม็ดเลือด คือ biliverdin จะถูกเซลล์ของตับเปลี่ยนเป็น bilirubin ซึ่งจะออกมาเป็นสารสีในอุจจาระและปัสสาวะ



เม็ดเลือดขาว



มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ปกติจะใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงเกือบ 2 เท่า ไม่มีสี เพราะไม่มีฮีโมโกลบิน (haemoglobin) แต่มีนิวเคลียส การที่เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่มี haemoglobin จะสามารถทำให้เซลล์ลีบเล็กผ่านผนังของเส้นเลือดฝอยออกมาได้ เซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีอายุสั้น ประมาณ 2 - 14 วัน (บางชนิดอาจมีอายุ 100 - 300 วัน) มีหน้าที่โอบล้อมและจับกินเชื้อโรคแบบฟาโกไซโตซิส (phagocytosis) และอาจสร้างแอนติบอดี (antibody) ออกมาต่อต้านและทำลาย





ชนิดของเม็ดเลือดขาว



การจำแนกชนิดเม็ดเลือดขาวแบบที่ 1



1. พวกแกรนูลโลไซต์ หรือ granular leucocyte คือ พวกที่มีแกรนูลของไลโซโซมจำนวนมากในไซโทพลาสซึม พวกนี้จะสร้างมาจากไขกระดูก มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ 2 - 3 วัน สามารถแยกเป็น 3 พวกย่อยๆโดยการติดสี ดังนี้                                                                                                                           

นิวโตรฟิล (neutrophil)            เป็นพวกติดสีที่เป็นกลาง สร้างมาจากไขกระดูก มีมาก 60 - 70 % เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงประเภทแรกที่ร่างกายใช้กำจัดสิ่งแปลกปลอม

 อีโอซิโนฟิล (eosinophil หรือ acidophil)

เป็นพวกติดสีที่เป็นกรด มี 2 - 4 % ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้ามาในร่างกาย แต่เลือกกินเฉพาะองค์ประกอบรวมของแอนติเจน - แอนติบอดี เท่านั้น และทำลายสารที่เป็นพิษที่ทำให้เกิดการแพ้สารของร่างกาย เช่น โปรตีนในอาหาร   ฝุ่นละออง    เกสรดอกไม้

เบโซฟิล (basophil)      เป็นพวกติดสีที่เป็นด่าง มี 0.5 - 17 % ทำหน้าที่จับสิ่งแปลกปลอมโดยวิธีฟาโกไซโตซิส แต่ความสามารถจะด้อยกว่าชนิดนิวโตรฟิล และอีโอซิโนฟิลมาก ทำหน้าที่หลั่งสาร heparin เป็นสารที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด



2. พวกอะแกรนูโลไซต์ หรือ agranule leucocyte เป็นพวกที่ไม่มีแกรนูลของไลโซโซมอยู่ในโตพลาสซึม พวกนี้ถูกสร้างจากอวัยวะน้ำเหลือง ได้แก่ ต่อมไทมัส ต่อมน้ำเหลือง ม้าม มีอายุประมาณ 100 - 300 วัน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

- โมโนไซต์ (monocyte)          มีประมาณ 3 - 5 % มีอายุ 5 - 6 วัน ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมด้วยวิธีฟาโกไซโตซิส มีความสามารถสูงพอๆกับ neutrophil และสร้าง antibody ต่อต้านเชื้อโรค

- ลิมโฟไซต์ (lymphocyte)       มีประมาณ 20 - 25 %   ในขณะที่อยู่ในต่อมน้ำเหลือง จะมีหน้าที่สร้าง antibody และทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยวิธีฟาโกไซโตซิส  แบ่งเป็น 2 ชนิด

ลิมโฟไซต์ชนิด B (B - lymphocyte) หรือ B – cell      มีคุณสมบัติในการสร้าง antibodyจำเพาะโดยถ้าเซลล์บีถูกกระตุ้นโดยเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเซลล์บีจะแบ่งเซลล์ได้เซลล์ 2 ชนิด



plasma cell

-สร้าง antibody ที่จำเพาะเจาะจงทำลาย antigen แต่ละชนิดที่เข้าสู่ร่างกาย

memory cell

- ทำ หน้าที่จำแอนติเจนนั้นไว้ ถ้าแอนติเจนนั้นเข้าสู่เซลล์ในภายหลัง เซลล์เมมเมอรีจะสร้างแอนติบอดีจำเพาะอย่างรวดเร็วไปทำลายแอนติเจนนั้นๆให้ หมดไป



ลิมโฟไซต์ชนิด T (T - lymphocyte) หรือ T – cell    มีการทำงานซับซ้อนมาก   บางชนิดจะกระตุ้นให้เซลล์บีสร้างสารแอนติบอดี และกระตุ้นฟาโกไซต์ให้มีการทำลายสิ่งแปลกปลอมให้รวดเร็วขึ้น   เซลล์ทีบางชนิดควบคุมการทำงานของเซลล์บี และฟาโกไซต์ให้อยู่ในสภาพสมดุล  และบางชนิดจะทำหน้าที่เป็นเซลล์เมมเมอรีด้วย



วิธีการทำลายเชื้อโรคของเซลล์เม็ดเลือดขาว

1. phagocytosis เป็นวิธีทำลายเชื้อโรคโดยการกินและย่อยสลายเชื้อโรค

2. immunization เม็ดเลือดขาวบางชนิดจะสร้างสารพวกโปรตีนที่มีคุณสมบัติต่อต้านสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรค

- สารที่สร้างขึ้น เรียกว่า antibody

- สิ่งแปลกปลอม เรียกว่า antigen



เกล็ดเลือด

เกิดจากชิ้นส่วนของ cytoplasm ของเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ (ชื่อ Megakaryocytes ในกระดูก) ที่แตกออกจากกัน และหลุดเข้าสู่เส้นเลือด ไม่มีนิวเคลียส มีรูปร่างไม่แน่นอน   อายุสั้นประมาณ 3 - 4  วันเท่านั้น มีหน้าที่ ช่วยให้เลือดแข็งตัว (blood clotting) โดยการสร้างสารทรอมโบพลาสติน (tromboplastin) ออกมา



กระบวนการแข็งตัวของเลือด

ขั้นที่เกิดสาร Tromboplastin จากเพลตเลตและเนื้อเยื่อที่ได้รับอันตราย

ขั้นที่ 2 Tromboplastin ที่เกิดขึ้นจะไปเปลี่ยน Prothrombin ให้กลายเป็น Thrombin โดยอาศัยแคลเซียมอิออน และปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดบางตัวในพลาสมาเข้าช่วย โดย Prothrombin สร้างมาจากตับโดยอาศัยวิตามิน K

ขั้นที่ 3 Thrombin จะไปเปลี่ยน Fibrinogen ในเลือดให้เป็น Fibrin
ขั้นที่ 4 Fibrin เส้นเล็กๆที่เกิดขึ้นจะรวมตัวกันเป็นเส้นใยไฟบริน โดยการช่วยเหลือจาก Ca2+ และปัจจัยที่ทำให้ไฟบรินอยู่ตัว และไปประสานกันเป็นร่างแห ต่อมาจะมี เพลตเลต และเม็ดเลือดต่างๆมาเกาะบนร่างแห จึงทำให้เลือดหยุดไหล

ที่มา http://sheva.igetweb.com/index.php?mo=59&action=page&id=129692

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น